SMP ---M1/4
บ้านใหม่ของเราครับ

http://smp234.ispace.in.th/board

Join the forum, it's quick and easy

SMP ---M1/4
บ้านใหม่ของเราครับ

http://smp234.ispace.in.th/board
SMP ---M1/4
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

[ดาราศาสตร์]ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์

Go down

[ดาราศาสตร์]ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ Empty [ดาราศาสตร์]ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์

ตั้งหัวข้อ  Secret? Sat Jun 27, 2009 6:03 pm

ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ

พระอาทิตย์เที่ยงคืนจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอาทิตย์เที่ยงคืนที่ประเทศนอร์เวย์พระอาทิตย์เที่ยงคืนคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแทบภูมิภาคยุโรปตอนเหนือสามารถเห็นได้ชัดที่ประเทศนอร์เวย์
บริเวณแหลมเหนือ หรือที่รู้จักกันในนาม นอร์ธเคป เพราะแม้ในยามเที่ยงคืนล่วงไปแล้วแต่ดวงอาทิตย์กลับยังส่องแสงสว่างอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก


แสงจักรราศีจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสงจักรราศี บนท้องฟ้าตะวันออกก่อนแสงอรุณยามเช้า ในภาพจะมองเห็นดาวศุกร์กับกระจุกดาวเปิด M44 ด้วยแสงจักรราศี (อังกฤษ: zodiacal light) คือ

แสงสว่างเรืองรองจางๆ เป็นโครงรูปสามเหลี่ยมหยาบๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้ายามค่ำคืนหลังจากที่แสงสนธยาของตะวันตกดินลับฟ้าไปแล้ว โดยปรากฏอยู่ใน
แนวเส้นสุริยวิถี ในเขตซีกโลกเหนือตอนกลางจะสามารถมองเห็นแสงจักรราศีได้ดีที่สุดในช่วงเย็นของฤดูใบไม้ผลิทางท้องฟ้าทิศตะวันตก หลังจากที่แสง
อาทิตย์อัสดงจางหายไปหมด หรือในฤดูใบไม้ร่วงยามเช้ามืดทางท้องฟ้าตะวันออกก่อนที่แสงอรุณจะมาถึง แสงจักรราศีมีลักษณะจางมากเพราะมีแสงอื่น
รบกวนเช่น แสงจันทร์ หรือมลภาวะทางแสงอื่นๆ
ปรากฏการณ์นี้มีการสังเกตและตรวจสอบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1683 โดยนักดาราศาสตร์ชื่อ จิโอวานนี โดเมนิโก คาสสินี ต่อมาได้รับการอธิบายเป็นครั้ง
แรกโดย นิโคลัส ฟาชิโอ เดอ ดุยล์เลียร์ ในปี ค.ศ. 1684 [ดาราศาสตร์]ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ 300pxcantin1



ดวงจันทร์สีน้ำเงินจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดวงจันทร์สีน้ำเงินดวงจันทร์สีน้ำเงิน คือดวงจันทร์เต็มดวงที่มีกำหนดเวลาเกิดไม่แน่นอน โดยส่วนใหญ่ในแต่ละปีจะมีดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง เฉลี่ยเกิด

ประมาณเดือนละหนึ่งครั้ง แต่ถ้าคิดเฉพาะระยะเวลาที่เกิดดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง (รอบ) ในหนึ่งปีของปฏิทินตามระบบสุริยคติจะมีจำนวนวันมากกว่า
ประมาณ 11 วัน ซึ่งเมื่อนำมาสะสมรวมกัน จะทำให้ทุกสองหรือสามปีมีดวงจันทร์เต็มดวงเพิ่มขึ้นหนึ่งครั้ง (กล่าวคือจะเกิดขึ้น 2.71722874 ปี) ดวงจันทร์
เต็มดวงที่เพิ่มขึ้นมานี้เรียกว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน" แต่เนื่องจากมีการนิยามความหมายของดวงจันทร์ “ที่เพิ่มขึ้นมานี้" ต่างกัน จึงทำให้การกำหนดวันที่เกิด
ดวงจันทร์นี้ต่างกัน โดยส่วนใหญ่ดวงจันทร์สีน้ำเงินหมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงที่เกิดครั้งที่สองของเดือน
[ดาราศาสตร์]ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ Blue_moon

คำว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน" (blue moon) มีบันทึกว่าใช้ในภาษาอังกฤษโบราณครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1528 ในหนังสือที่โจมตีนักบวชอังกฤษอย่างรุนแรง
หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า Rede Me and Be Not Wrothe [Read me and be not angry] ข้อความมีว่า
Yf they say the mone is belewe / We must believe that it is true
[If they say the moon is blue, we must believe that it is true]
(ถ้าพวกเขาพูดว่าดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงิน เราต้องเชื่อว่านั่นเป็นเรื่องจริง)
บางคนตีความคำว่า “ดวงจันทร์สีน้ำเงิน” นี้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความไร้สาระและเป็นไปไม่ได้
ภาษิตเกี่ยวกับดวงจันทร์ทำนองนี้ที่มีบันทึกครั้งแรกในปีต่อมาคือ
They would make men beleue ... that þe Moone is made of grene chese
[They would make men believe ... that the moon is made of green cheese]
(พวกเขาจะทำให้คนทั้งหลายเชื่อ...ว่าดวงจันทร์ทำมาจากชีสสีเขียว)

ดวงจันทร์สีน้ำเงินที่สามารถมองเห็นได้
ความหมายที่แปลตามตัวอักษรที่สุดของคำว่า ดวงจันทร์สีน้ำเงิน คือ ดวงจันทร์ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดวงจันทร์เต็มดวง) ที่ปรากฏแก่ผู้สังเกตเป็นสีออก
น้ำเงิน ผิดจากที่เห็นตามปกติ และเป็นเหตุการณ์ที่หาดูได้ยาก การที่ดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินอาจเกิดจากอนุภาคของฝุ่นควันในบรรยากาศ เช่นที่เกิดขึ้นหลัง
จากไฟป่าในประเทศสวีเดนและแคนาดาในปี ค.ศ. 1950 และที่เห็นเด่นชัดที่สุดเกิดหลังจากภูเขาไฟกรากะตัวระเบิดในปี ค.ศ. 1883 ซึ่งทำให้ดวงจันทร์เป็น
สีน้ำเงินเกือบสองปี





ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท้องฟ้าในวอชิงตัน ดี.ซี. ในวันเดียวกัน เป็นรูปพระจันทร์เศร้าปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม หรือ ดาวเคียงเดือน เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะเหมือนคนกำลังยิ้ม

โดยดาวคู่ดังกล่าว ได้แก่ดาวศุกร์ อยู่เคียงกับ ดาวพฤหัสบดี มองใกล้กันเพียง 2 องศา ในระยะบนท้องฟ้า และจะมีดวงจันทร์เสี้ยว ขึ้น 3 ค่ำ อยู่ข้างล่างดาว

ทั้งสองดวง ที่ห่างดาว เพียง 2 องศา ซึ่งสามารถสังเกตได้ในประเทศไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนจะเกิด 2 ครั้งห่างกันประมาณ 10 เดือน ทุก 2 ปีครึ่ง มีลักษณะเป็นดวงดาว 3 ดวง ซึ่งได้แก่ ดาวศุกร์ (ดาวประจำเมือง) ดาว

พฤหัสฯ และ ดวงจันทร์ โคจรเข้ามาใกล้กัน โดยดวงจันทร์หงายอยู่ด้านล่าง ดาวอีก2ดวง และ อยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ปรากฏการณ์

นี้จะมองเห็นได้ไม่นานนัก เพราะดาวจะตกเร็วลับจากขอบฟ้าจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา

เคยเกิดปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนมาแล้ว 1 ครั้งในวันที่ 1 ก.พ. พ.ศ. 2551 และจะเกิดอีกครั้งในวันที่ 1 ธ.ค. พ.ศ. 2551 จากนั้น
จะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงใกล้สว่างของ วันที่ 11 พ.ค. พ.ศ. 2554 และช่วงค่ำวันที่ 14 มี.ค. พ.ศ. 2555
[ดาราศาสตร์]ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ 200pxmoon_20081211



นาฬิกาดาราศาสตร์จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาฬิกาดาราศาสตร์ปรากนาฬิกาดาราศาสตร์ (อังกฤษ: Astronomical clock) เป็นนาฬิกาที่สามารถแสดงข้อมูลทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ
เช่น ตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ หรือกลุ่มดาวจักรราศี
[ดาราศาสตร์]ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์ 180pxschema_orloj_pragueorlojhzenilc


แก้ไขล่าสุดโดย taa เมื่อ Sun Jun 28, 2009 11:16 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง (Reason for editing : +50)

Secret?
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 32
คะแนนความดี : 888
จิตพิสัย : 8
Join date : 23/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ