SMP ---M1/4
บ้านใหม่ของเราครับ

http://smp234.ispace.in.th/board

Join the forum, it's quick and easy

SMP ---M1/4
บ้านใหม่ของเราครับ

http://smp234.ispace.in.th/board
SMP ---M1/4
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

การสืบพันธุ์ของพืชดอก

3 posters

Go down

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Empty การสืบพันธุ์ของพืชดอก

ตั้งหัวข้อ  taa Sat Jun 20, 2009 2:55 pm

เมื่อนำดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกชบา ดอกต้อยติ่ง ดอกกล้วยไม้ ฯลฯ มาสังเกตและเปรียบเทียบส่วนประกอบต่าง ๆ จะเห็นว่าอาจจะมีรูปร่าง สีหรือกลิ่นที่แตกต่างกันไป แต่มักจะมีส่วนประกอบของดอกที่เรียงจากด้านนอกเข้าไปชั้นในสุดดังนี้ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Flower2


ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบทั้งส่วนนี้เรียกว่า ดอกครบส่วน และดอกไม้ที่มีองค์ประกอบไม่ครบส่วนเรียกว่า ดอกไม่ครบส่วน

ดอกไม้บางชนิดมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน เรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนดอกไม้ที่มีเกสรตัวผู้ เพียงอย่างเดียวเรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์เพศ เช่น มะละกอ ข้าวโพด เป็นต้น

เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจัดเป็นออออวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ของพืชดอก เกสรตัวผู้มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ อับเรณู ซึ่งภายในมีละอองเรณูอยู่เต็ม ก้านชูอับเรณู เกสรตัวเมียประกอบด้วย ยอดเกสรตัวเมีย ก้านชูเกสรตัวเมีย รังไข่ซึ่งภายในจะมีออวุล ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ ภายในออวุลจะมีไข่อ่อนบรรจุอยู่

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเป็นการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ พืชก็เช่นเดียวกันเมื่ออับเรณูแก่ก็จะแตกปริ ทำให้ละอองเรณุภายในปลิวออกสู่ภายนอกและเมื่อละอองเรณูถูกพัดไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมียซึ่งมีความชื้นและ น้ำหวานอยู่กระบวนการนี้เรียกว่า การถ่ายละอองเรณู (Pollination) การถ่ายละองเรณูสามารถเกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืนซึ่งขึ้นอยู่กับการหุบและบานของดอกไม้แต่ละชนิด การถ่ายละอองเรณูอาจเกิดภายในดอกเดียวกัน หรือระหว่างดอกที่อยู่ในต้นเดียวกัน หรือการถ่ายละอองเรณูข้ามต้นก็ได้ โดยการนำพาของ คน ลม แมลงต่าง ๆ หรือสัตว์อื่น ๆ

เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย จะเริ่มสร้างหลอดละอองเรณูและงอกลงไปตามก้านเกสรตัวเมีย แล้วนิวเคลียสของละอองเรณูจะเข้าผสมกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่ออวุล เรียกกระบวนการนี้ว่า การปฏิสนธิ (Fertilization) หลังจากที่เกิดการปฏิสนธิแล้ว ออวุลจะเจริญเป็นเมล็ด ซึ่งจะมีต้นอ่อนและอาหารของต้นอ่อน (Endosperm) อยู่ภายใน ส่วนรังไข่จะเจริญไปเป็นผลต่อไป


การที่พืชเกิดการถ่ายละอองเรณูก็หมายถึง มีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเพศเมีย ซึ่งเรียกว่า กระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบนี้จะลักษณะผสมระหว่างพ่อกับแม่

การปลูกพืชแบบใช้เมล็ดเป็นการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่ง แต่ปัจจุบันมักไม่นิยมเนื่องจากใช้เวลานานจึงจะออกดอกออกผล และผลที่เกิดอาจจะมีรสชาติไม่เหมือนเดิม เพราะเมล็ดเกิดจากการปฏิสนธิของไข่กับละอองเรณู แต่ข้อดีของต้นไม้ที่เพาะจากเมล็ด คือ มีรากแก้วแข็งแรงและหยั่งลึก ช่วยค้ำจุนลำต้นให้มีอายุยืนยาว

มนุษย์สามารถแพร่พันธุ์พืชได้โดยไม่ใช้เมล็ดแต่ใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เพื่ให้ได้พืชต้นใหม่จำนวนมากอย่างรวดเร็ว และได้ลักษณะที่ดีเหมือนต้นเดิม เช่น ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคได้ดี ดอกรูปร่างสวย กลิ่นหอม การขยายพันธุ์ที่กล่าวมานี้ เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่นการต่อกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง ปัจจุบันมนุษย์ได้คิดค้นวิธีใหม่ ๆ ที่สามารถขยายพัรธุ์พืชได้เป็นจำนวนมาก และสามารถปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษระตรงตามที่มนุษย์ต้องการได้
taa
taa
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 67
คะแนนความดี : 100000022
จิตพิสัย : 11
Join date : 16/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Empty การแพร่และการออสโมซิส

ตั้งหัวข้อ  manaza Sat Jun 20, 2009 7:41 pm

การแพร่ (Diffusion)

การเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรืออิออน ซึ่งจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความหนาแน่นของโมเลกุลที่มากกว่า ไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นของโมเลกุลที่น้อยกว่า จนกระทั่งความหนาแน่นของโมเลกุลของสารเกิดความสมดุล คือ ความหนาแน่นของโมเลกุลเท่ากันจึงหยุดแพร่ (ดูภาพเคลื่อนไหวที่ : www.scienceintheborders.co.uk/index.php?optio)



การแพร่เกิดจากพลังงานจลน์ (kinetic energy) ของโมเลกุลหรือไอออนของสาร บริเวณที่มีความเข้มข้นมากโมเลกุลหรือไอออนก็มีโอกาสชนกันมาก ทำให้โมเลกุลกระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ที่มีความเข้มข้นของโมเลกุลหรือไอออนเท่ากัน จึงเรียกว่า ภาวะสมดุลของการแพร่ (diffusion equilibrium)




สารที่จะแพร่ได้ต้องอยู่ในสภาวะโมเลกุลหรืออิออนที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สภาวะแก๊สหรือของเหลวหรืออนุภาคของแข็งที่แขวนลอยในตัวกลางที่เป็นของเหลว

ต้องอาศัยพลังงานจลน์ที่อยู่ในโมเลกุลหรืออิออนในการแพร่

การแพร่ของอนุภาคของแข็งในตัวกลางที่เป็นของเหลว จะอาศัยพลังงานจลน์ของของเหลวที่กระแทกโมเลกุลของของแข็งตลอดเวลา

เกิดขึ้นเมื่อมีโมเลกุลหรืออิออนของสารในที่ 2 แห่งหนาแน่นไม่เท่ากัน ซึ่งจะเกิดการแพร่จากบริเวณที่หนาแน่นมากไปยังบริเวณที่หนาแน่นน้อยกว่า

โมเลกุลของสารที่อยู่กันอย่างหนาแน่นจะชนกันเอง และกระแทกให้โมเลกุลรอบนอกเคลื่อนที่ออกไปจากบริเวณที่หนาแน่นมาก กระจายออกไปเรื่อยๆ

ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่
1. อุณหภูมิ ในขณะที่อุณหภูมิสูง โมเลกุลของสารมีพลังงานจลน์มากขึ้น ทำให้โมเลกุลเหล่านี้เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า เมื่ออุณหภูมิต่ำ การแพร่จึงเกิดขึ้นได้เร็ว

2. ความแตกต่างของความเข้มข้น ถ้าหากมีความเข้มข้นของสาร 2 บริเวณแตกต่างกันมาก จะทำให้การแพร่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้นด้วย

3. ขนาดของโมเลกุลสาร สารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กจะเกิดการแพร่ได้เร็วกว่าสารโมเลกุลใหญ่

4. ความเข้มข้นและชนิดของสารตัวกลาง สารตัวกลางที่มีความเข้มข้นมากจะมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของตัวกลางมาก ทำให้โมเลกุลของสารเคลื่อนที่ไปได้ยาก แต่ถ้าหากสารตัวกลางมีความเข้มข้นน้อย โมเลกุลของสารก็จะเคลื่อนที่ได้ดีทำให้การแพร่เกิดขึ้นเร็วด้วย

5. ความดัน การเพิ่มความดันช่วยให้โมเลกุลหรืออิออนของสารเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น

6. สิ่งเจือปนอื่นๆ ที่ปนอยู่ในสารจะเป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้การแพร่เกิดได้ช้าลง

7. การดูดติดของสารอื่น ถ้าโมเลกุลหรืออิออนของสารที่แพร่ถูกดูดติดด้วยองค์ประกอบของสารต่างๆ จะทำให้ความสามารถในการแพร่ลดลง

การออสโมซิส (osmosis)

เป็นการแพร่ของของเหลวผ่านเยื่อบาง ๆ ปกติจะหมายถึงการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
เ์นื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์ยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นทีี่ผ่านได้

การแพร่ของน้ำจะแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จากด้านที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ
( น้ำมาก ) ไปยังด้านที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงกว่า ( น้ำน้อย )

ปกติการแพร่ของน้ำจะเกิดทั้งสองทิศทางคือทั้งบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ
และบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูง หรือกล่าวได้ว่า ออสโมซิสเป็นการแพร่ของน้ำ
จากบริเวณที่มีน้ำมากเข้าสู่บริเวณที่มีน้ำน้อยกว่าโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์


การแพร่เข้าของน้ำทำให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น
ในเซลล์พืชมีผนังเซลล์ แต่ในเซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์
ถ้าการแพร่เข้าของน้ำมากเกินไปเซลล์จะแตกได้




แรงดันออสโมติก

เกิดจากการแพร่ของน้ำจากบริเวณที่น้ำมากเข้าสู่บริเวณที่น้ำน้อย แรงดันนี้จะดันให้ของเหลว
ขึ้นไปในหลอดได้ ในขณะที่ยังไม่สมดุลของเหลวจะขึ้นไปบนหลอดได้เรื่อย ๆ และเมื่อเกิดการ
สมดุลระดับของของเหลวในหลอดจะคงที่
แรงดันออสโมติกของสารละลายแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน น้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมติกต่ำสุด
สารละลายที่เจือจางจะมีแรงดันออสโมติกต่ำ สารละลายที่เข้มข้นมากจะมีแรงดันออสโมติกสูง





การออสโมซิสของน้ำในสภาพความเข้มข้นของสารละลายต่าง ๆ

จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยกระบวนการออสโมซิส
พบว่า เมื่อนำ เซลล์เม็ดเลือดแดงไปใส่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างๆ
แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)

หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับความเข้มข้น
ของสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้การออสโมซิสของโมเลกุลของนํ้าเข้าสู่
เซลล์เม็ดเลือดแดง และออกจากเซลล์เม็ดเลือดมีค่าเท่ากัน ทำให้ขนาดของเซลล์ไม่เปลี่ยนแปลง
สารละลายที่เป็นไอโซทอนิกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ น้ำเกลือ 0.85 %

2. สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)

หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis
ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง

ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis

3. สารละลายไฮเพอร์โทนิก (Hypertonic solution)

หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis

ในเซลล์พืชจะทำให้โพรโทพลาซึมหดตัวจึงดึงให้เยื่อหุ้มเซลล์ที่แนบชิดกับผนังเซลล์
แยกออกจากผนังเซลล์ มองเห็นเป็นก้อนกลมอยู่กลางเซลล์


แก้ไขล่าสุดโดย manaza เมื่อ Mon Jun 22, 2009 8:38 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
manaza
manaza
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 71
คะแนนความดี : 455
จิตพิสัย : 4
Join date : 20/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Empty สังคมที่ดี 555+ อิอิ

ตั้งหัวข้อ  manaza Sun Jun 21, 2009 9:34 pm

สังคมที่ดี เริ่มมาจากคนในสังคมที่มีความสุข หรือคนจะมีความสุขต่อเมื่อสังคมดี (ภาค2)
ผมคิดว่าแนวความคิดว่า
"คนดี ---> สังคมดี ---> คนมีความสุข"
เป็นแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อในเรื่องบาป-บุญ, นรก-สวรรค์, หรือความรอด-ความไม่รอด ตลอดจนแนวคิด 'เพื่อสังคม' และ 'เพื่อประชาชน' รวมถึงเรื่องขนบ ประเพณี จริยธรรม และกฎหมายต่างๆ
กล่าวคือ พยายาม 'ล่อหลอก' หรือ 'บังคับ' ให้คนเป็น 'คนดี'
โดยหวังว่าเมื่อ คนดี สังคมจะดีตาม เมื่อสังคมดีแล้วแต่ละคนจะมีความสุขมากขึ้นเอง

ผมเห็นด้วยว่า
"คนดี ---> สังคมดี"
แต่ผมไม่คิดว่าสังคมที่ดีจะทำให้คนมีความสุขได้เอง
คนในสังคมอาจจะมีความทุกข์ที่เกิดจากการเบียดเบียนของเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆน้อยลง แต่ก็จะยังคงทุกข์จากสาเหตุอีกนับไม่ถ้วน

อย่างน้อยสังคมดีก็ทำให้คนมีความทุกข์น้อยลงไม่ใช่หรือ?
ถูกครับ สังคมที่ดีเป็นเรื่องที่ดีครับ
แต่ขึ้นกับวิธีการที่จะได้มาด้วยครับ
หลายครั้งกระบวนการ 'ล่อหลอก' และ 'บังคับ' ให้คนทุกคนเป็นคนดีนั้น กลับย้อนมาทิ่มแทงคนที่ 'ตั้งใจ' เป็น 'คนดี' ให้มีความทุกข์มากขึ้น เช่น คนที่ทำดีแล้วกลับไม่ได้ดี (อย่างที่หวัง) หรือคนที่เคร่งครัดขนบธรรมเนียมมากจนเหมือนถูก 'กรอบ' บีบไว้ทั้งชีวิต

นอกจากนี้ผมคิดว่าตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าวิธีการ 'ล่อหลอก' หรือ 'บังคับ' นี้ไม่ค่อยจะได้ผล หรือถึงจะได้ผลก็ไม่ยั่งยืนครับ
เพราะวันหนึ่งก็จะมีคน 'ตั้งคำถาม' กับสิ่งที่เอามา 'ล่อหลอก' และจะมีคนที่ 'ฝ่าฝืน' การ 'บังคับ'

คนที่ทำ'ดี' เพราะหวังจะได้บุญหรือหวังจะขึ้นสวรรค์หรือหวังความรอดจะทำความดีได้นานแค่ไหน ในขณะที่มีคนที่ทำ 'ไม่ดี' แล้วได้รับสิ่งตอบแทนมหาศาล?
คนที่ 'เสียสละ' เพื่อสังคม(จริงๆ) เพราะหวังให้ 'สังคมดีขึ้น' จะทำได้นานแค่ไหน ในขณะที่คนที่คอยแต่จะ 'กอบโกย' ได้รับลาภยศชื่อเสียง?
คนที่ทำตาม 'กฎหมาย' เพราะกลัวการลงโทษจะยังปฏิบัติตามกฎหมายได้นานแค่ไหน ในขณะที่มีคนที่ 'ฝ่าฝืน' แล้ว 'ลอยนวล'?

คนที่ทำได้ไปตลอดก็คงจะมี ผมขอชื่นชมในอุดมการณ์และความเด็ดเดี่ยวของเขาและเธอเหล่านั้น
แต่ผมคิดว่าคนทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว 'ไม่' ครับ

ผมคิดว่า
"คนมีความสุข ---> คนดี ---> สังคมดี"

ผมเชื่อว่า
คนที่ทำ 'ดี' เพราะ 'รัก' คนอื่น ต้องการจะทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดแม้กระทั่งคำขอบคุณหรือความสำนึกในบุญคุณ ย่อมสามารถทำ 'ดี' ได้ตลอด
คนที่รู้จัก 'แบ่งปัน' คนอื่นเพราะว่าตัวเองมี 'พอ' แล้วย่อมสามารถสามารถจะให้ได้ตลอด
และคนที่ทำตาม 'กฎหมาย' เพราะความไม่อยากเบียดเบียนคนอื่นย่อมสามารถทำได้ตลอดเช่นกัน

ผมเชื่อว่าคนที่จะรู้จัก 'รัก' 'แบ่งปัน' และ 'ไม่เบียดเบียน' คือคนที่มีความสุขครับ

ผมไม่ได้หมายความว่าความเชื่อในเรื่องบาป-บุญ, นรก-สวรรค์, หรือความรอด-ความไม่รอด ตลอดจนแนวคิด 'เพื่อสังคม' และ 'เพื่อประชาชน' รวมถึงเรื่องขนบ ประเพณี จริยธรรม และกฎหมายต่างๆ เป็นเรื่องไม่ดีหรือไม่จำเป็นนะครับ
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง เพราะ การทำให้ 'คนมีความสุข' เป็นเรื่องยากครับ
'ถ้ายังไม่มีความสุขก็ขอให้เป็นคนดีก็แล้วกัน'

เพียงแต่เราไม่ควรหยุดความพยายามที่จะทำให้ 'คนมีความสุข' โดยคิดเพียงว่าแค่เป็น 'คนดี' ก็พอแล้ว


ผมเชื่อว่าสังคมที่ดี เริ่มจาก 'ตัวเรา' ครับ

ไม่ใช่เริ่มจากการ 'พยายาม' เป็น 'คนดี'
แต่เริ่มจากการ 'พยายาม' เป็น 'คนที่มีความสุข' ครับ
7 ธค 47

'คนมีความสุข'
ผมหมายถึงคนที่ 'พ้น' ทุกข์ นะครับ
ผมเชื่อว่าการพยายามตอบสนองความต้องการตัวเองไปเรื่อย หรือพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ต้องการ
ไม่สามารถ 'พ้น' ทุกข์ได้หรอกครับ

ผมเชื่อว่า
ถ้า 'เข้าใจ' และ 'ยอมรับ' ถึงคนอื่นมาเบียดเบียนก็จะไม่ 'ทุกข์'
ถูกตีก็ 'เจ็บ' ครับ แต่จะไม่ 'ทุกข์' ครับ
คนที่ 'พ้น' ทุกข์แล้ว ก็จะไม่มีทุกข์อีก

การเป็น 'คนดี' นั้นก็ดีอยู่ครับ
แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า
ถ้าพยายามเป็นคนดีเพราะเชื่อในแนวคิด
"คนดี ---> สังคมดี ---> คนมีความสุข" แล้ว

คนที่ 'พยายาม' เป็น 'คนดี' มักจะยึดติดกับ 'ความดี' ถือว่าการ 'ทำดี' เป็น 'หน้าที่' เพื่อส่วนรวม
และ 'คาดหวัง' ให้คนอื่น พยายามทำดีเหมือนตนเอง

เวลาพบคนที่ 'ทำดี' ด้วย ก็จะรู้สึกเฉยๆคิดว่า เป็นหน้าที่ที่มนุษย์พึงมีต่อกัน
แต่เวลาพบคนที่ทำไม่ได้อย่างที่คาดหวังไว้ ก็จะรู้สึกว่าคนนั้นเป็นคน'ไม่ดี' ทันที

อย่างที่บอกว่าแนวคิดแบบนี้ มันมักจะย้อนมาทิ่มแทงคนที่ตั้งใจ 'ดี' นั่นแหละครับ


ผมไม่ได้หมายความว่าคนที่คิดหรือทำอะไรเพื่อคนอื่นหรือเพื่อสังคม 'ด้วยใจจริง' จะไม่มีนะครับ
มีครับ แล้วเป็นคนดีจริงๆด้วย
แต่เขาหรือเธอเหล่านั้น มักจะเป็นคนที่มีความสุข 'อยู่แล้ว' ครับ
ไม่ใช่คนที่ต้องการ 'สังคมที่ดี' ขึ้น เพื่อให้ตัวเองมี ’ความสุข'

ผมเชื่อว่า
'คนสามารถมีความสุขได้ ทั้งที่สังคมยังไม่ดี
เมื่อคนมีความสุข ย่อมคิดดีและทำดี 'ด้วยใจจริง'
แล้วสังคมก็จะค่อยๆดีขึ้นจากคนที่มีความสุขเหล่านั้น' afro
manaza
manaza
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 71
คะแนนความดี : 455
จิตพิสัย : 4
Join date : 20/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Empty .....

ตั้งหัวข้อ  manaza Sun Jun 21, 2009 9:35 pm

คุณสามารถเข้าไปหาความรู้ได้ที่http://www.lib.kmutt.ac.th/
manaza
manaza
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 71
คะแนนความดี : 455
จิตพิสัย : 4
Join date : 20/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Empty ไข้หวัดใหญ่2009

ตั้งหัวข้อ  manaza Mon Jun 22, 2009 8:47 pm

ไข้หวัดใหญ่ 2009 หวัดสายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดทั่วโลก


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 2810


ข่าวคราวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ H1N1 ปรากฎให้เห็นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 แล้ว แต่ยิ่งนับวันก็ยิ่งมีการรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ทำให้องค์การอนามัยโลกกังวลว่าไข้หวัดใหญ่ 2009 อาจจะสร้างความรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก
ประเทศแถบเอเชียใกล้ๆ บ้านเรา ก็มีรายงานผู้ติดเชื้อแล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทย ดังนั้นโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป วันนี้กระปุกจึงนำเรื่องราวของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มาบอกต่อเพื่อเป็นความรู้ค่ะ

การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 สถานการณ์การแพร่ระบาดล่าสุด

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเตือนภัยการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ระดับ 5 หมายถึง มีการติดต่อของเชื้อไวรัสจากคนสู่คน และแพร่ระบาดไปอย่างน้อยสองประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก รายงานว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก ล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็น 12,954 รายแล้ว ใน 46 ประเทศ และมีจำนวนผู้เสียชีวิต 92 ราย ขณะที่ในประเทศเม็กซิโก มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 85 ราย และมีผู้ติดเชื้อ 4,721 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2552)


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 รู้จักโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีชื่อเรียกในประเทศต่างๆ หลายชื่อ คือ ไข้หวัดเม็กซิโก, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอชวัน เอ็นวัน 2009, ไข้หวัดใหญ่จากสุกร (Swine Influenza) เป็นต้น เป็นไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ ตามปกติมีการระบาดในหมูเท่านั้น สามารถพบได้ทั้งในหมูเลี้ยง และหมูป่า ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้ง H1N1, H1N2 และ H3N2 แต่บางครั้งหมูอาจมีเชื้อไข้หวัดอยู่ในตัวมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดการผสมกันของยีนได้ ทำให้เกิดเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่สามารถข้ามสายพันธุ์มาติดต่อยังมนุษย์ได้ เริ่มต้นจากการสัมผัสกับหมูที่เป็นโรค

สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เริ่มแพร่ระบาดในประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายๆ ประเทศทั่วโลกนั้น เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน และไม่เคยพบมาก่อน เนื่องจากเป็นการผสมกันของสารพันธุกรรมไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์, ไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และไข้หวัดหมูที่พบในทวีปเอเชีย และยุโรป ทำให้องค์การอนามัยโลกต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เนื่องจากหวั่นวิตกว่า เชื้อ H1N1 อาจจะกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่อันตรายยิ่งขึ้น




การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 วิวัฒนาการไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

ก่อนที่ไข้หวัดหมูดั้งเดิมจะกลายพันธุ์เป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 นั้น ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ดั้งเดิม พบมาตั้งแต่ ค. ศ.1918-1919 ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish Flu) ระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก จนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 50 ล้านคน ส่วนใหญ่อายุ 20-40 ปี และตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จากนั้นโรคไข้หวัดหมูได้แพร่ระบาดในช่วงต่างๆ ก่อให้เกิดโรคในคนอยู่มากกว่า 50 ราย โดยผู้ป่วย 61% มีประวัติสัมผัสหมู และมีอายุเฉลี่ย 24 ปี หลังจากนั้นใน ค.ศ.1974 ไข้หวัดหมูได้แพร่ระบาดในค่ายทหาร (Fort Dix) ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ มีผู้ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยที่อีก 230 ราย ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่น้อยมาก ทั้งหมดนี้ไม่มีประวัติสัมผัสหมู ซึ่งแสดงว่าน่าจะมีการพัฒนาจนมีการติดต่อจากคนสู่คน

ต่อมาใน ค.ศ.1988 หญิงตั้งครรภ์คนหนึ่งเสียชีวิตในรัฐวิสคอนซิน และมีประวัติสัมผัสหมู จึงเกิดการสงสัยว่าไข้หวัดหมูอาจไม่ใช่พันธุ์หมูล้วน (classic H1N1) จนกระทั่งปี ค.ศ.1998 จึงพิสูจน์พบว่า หมูที่เลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกา มีไวรัสไข้หวัดหมูกลายพันธุ์ โดยมีพันธุกรรมผสมระหว่างหมู คน และนก เกิดสายพันธุ์ผสม (Triple assortant virus) H3N2, H1N2, และ H1N1 (วารสารโรคติดเชื้อ JID 2008) และสายพันธุ์ผสมนี้ยังพบได้ในเอเชีย และแคนาดา


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 5017

จากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2008 ได้พบไข้หวัดหมูผสมสายพันธุ์ใหม่ (H1N1) ที่ประเทศสเปน จากหญิงอายุ 50 ปีที่ทำงานในฟาร์มหมู โดยมีอาการไข้ ไอ เหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คันคอ คันตา และหนาวสั่น แต่อาการเหล่านี้หายไปได้เอง โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ จึงไม่มีการคาดการณ์ว่า ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่จะเป็นอันตรายมากนัก

จนกระทั่งล่าสุด เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมู หรือที่มีการบัญญัติชื่อใหม่ว่า ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ลามไปทั่วโลก และมีการยืนยันอย่างแน่ชัดว่า โรคนี้สามารถแพร่กันระหว่างคนสู่คน เนื่องจากเชื้อโรคได้วิวัฒนาการอย่างสมบูรณ์แล้ว
manaza
manaza
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 71
คะแนนความดี : 455
จิตพิสัย : 4
Join date : 20/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Empty ไข้หวัดใหญ่2009(ต่อ)

ตั้งหัวข้อ  manaza Mon Jun 22, 2009 8:48 pm

การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 การติดต่อโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

เชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีการติดต่อเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนทั่วไป และเชื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยระยะฟักเชื้อของไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้นอยู่ที่ประมาณ 3-7 วัน หากผู้ป่วยได้รับเชื้อมากระยะฟักตัวก็จะเร็ว ซึ่งทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยด้วยว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน

ทั้งนี้เชื้อโรคจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นด้วยการไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด รวมทั้งติดต่อกันทางลมหายใจ หากอยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และสามารถติดต่อได้จากมือ หรือสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ทั้งนี้เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา ซึ่งสามารถแพ้เชื้อได้ ตั้งแต่ผู้ติดเชื้อยังไม่ปรากฎอาการ หรือหลังจากปรากฎอาการไข้แล้ว

ขณะที่นักวิชาการขององค์การอนามัยโลก ระบุไว้ว่า โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีอัตราการแพร่ระบาดมากกว่าโรคซาร์ส และไข้หวัดนก แต่อัตราการเสียชีวิตมีน้อยกว่า คืออยู่ที่ร้อยละ 5-7 ขณะที่โรคไข้หวัดนกมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60

การสืบพันธุ์ของพืชดอก 3027


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

เมื่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนจะปรากฎอาการที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา แต่มีอาการรุนแรงกว่าและรวดเร็วกว่า นั่นคือ มีไข้สูงราว 38 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ ปอดบวม เบื่่ออาหาร บางรายอาจท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน จากนั้นเชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต จึงทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีการทรงตัวผิดปกติ เดินเอนไปเอนมาเหมือนคนเมาสุรา นอกจากนี้อาจสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวกได้ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 ระยะติดต่อ

ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ ห้าวันหลังจากมีอาการ ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้ นาน 10 วัน

การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคปอดอักเสบตามมา รวมถึงหัวใจวาย และอาจจะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งโรคแทรกซ้อนนี้สามารถคร่าชีวิตได้ หากผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และติดยาเสพติด เป็นต้น


การสืบพันธุ์ของพืชดอก Flu_1


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 ผู้ป่วยควรจะพบแพทย์เมื่อไร

ผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ หรือมีประวัติสัมผัสกับผู้ที่ต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 แล้วพบว่าตัวเองมีไข้สูง 38.5 องศา มีไข้นานเกิน 7 วัน เจ็บหน้าอก ปวดท้อง อาเจียน มีจุดเลือดตามตัว ตาเหลือง เจ็บคอมาก มีเสมหะสีเขียวๆ เหลืองๆ ผิวสีม่วง หรือได้พยายามรักษาตัวเองแล้ว แต่ยังไม่หาย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ด้วยวิธี PCR ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้สามารถหาเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ได้ภายใน 24 ชั่วโมง และควรเข้ารับการตรวจรักษาภายในห้องตรวจพิเศษ Negative Pressure เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อไวรัสต่อไปยังผู้อื่น



การสืบพันธุ์ของพืชดอก Influenza-Mexico2


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

องค์การอนามัยโลก ระบุว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ยังไม่สามารถป้องกัน และรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้ได้ แต่จากผลการทดสอบในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ คือ

1. "โอเซลทามิเวียร์" (ชื่อทางการค้าว่า ทามิฟลู) เป็นยาที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่เด็กอ่อนถึงผู้ใหญ่ มีตัวยาทั้งที่เป็นเม็ดและเป็นน้ำ แต่มีผลข้างเคียง ที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนั้นในเด็กอาจมีอาการปวดท้อง เลือดกำเดาออก ปัญหาเรื่องหู และโรคตาแดง

2."ซานามิเวียร์" (ชื่อทางการค้าว่า รีเลนซา) เป็นยาที่ใช้ได้เฉพาะในผู้ป่วยอายุมากกว่า 5 ปี และไม่แนะนำให้ใช้ในคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหืด หรือผู้ป่วยในสถานพยาบาล และผู้ที่มีอาการแพ้สารแลคโตส ตัวยามีลักษณะเป็นเบบชนิดพ่นเท่านั้น ผลข้างเคียงของยานี้คือ เพิ่มความเสี่ยงของอาการหายใจลำบาก ในเด็กวัยเล็กและวัยรุ่น อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากอาการชัก อาการสับสน ความประพฤติผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากไข้หวัดใหญ่ในระยะแรก

ทั้งนี้ ยาทั้งสองชนิด สามารถป้องกันเชื้อไวรัสไม่ให้แตกตัว แต่ต้องรับยาภายใน 48 ชั่วโมง เพราะมีโอกาสที่เชื้อไวรัสจะกลายพันธุ์ได้อีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกกำลังเร่งผลิตวัคซีนเพื่อป้องกัน และรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้อยู่ ซึ่งยังคงต้องใช้เวลา อย่างน้อย 5-6 เดือน เพื่อให้ได้วัคซีนที่ใช้รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
manaza
manaza
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 71
คะแนนความดี : 455
จิตพิสัย : 4
Join date : 20/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Empty ไข้หวัดใหญ่2009(ต่อ)

ตั้งหัวข้อ  manaza Mon Jun 22, 2009 8:51 pm

การสืบพันธุ์ของพืชดอก 2578_1


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

โรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งวิธีการป้องกันการติดต่อของโรคได้ดีที่สุด คือ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด และล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นหวัด ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันโอกาสการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่จะเข้าไปผสมกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลในตัวผู้ป่วย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเชื้อใหม่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ดื้อยาเพิ่มขึ้น และแพร่ระบาดจากคนสู่คนมากขึ้นต่อไป

นอกจากนี้หากใครที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และมีไข้สูง ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อจะได้เฝ้าระวังและรักษาได้ทัน


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 2880


การสืบพันธุ์ของพืชดอก 46 วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่

วัคซีนสำหรับรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ อาจไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ แต่ก็ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ที่จะเกิดขึ้นตามฤดูกาลได้ ซึ่งอาจจะช่วยป้องกันไม่ให้ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผสมกับไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ จนกลายพันธุ์เป็นพันธุ์ที่รุนแรงมากกว่าเดิม

ทั้งนี้วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนชนิดฉีด และเป็นวัคซีนเชื้อตาย จำนวน 3 สายพันธุ์ คือ ชนิดเอ 2 สายพันธุ์ และชนิดบี 1 สายพันธุ์ ทุกปีจะมีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นมาใหม่ โดยองค์กรอนามัยโลกจะคาดเดาว่า ในปีนั้นจะมีเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใดระบาด และแยกผลิตเป็นสองสูตร สำหรับประเทศในซีกโลกเหนือ และประเทศในซีกโลกใต้

วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่นี้ สามารถฉีดได้ในเด็ก ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปี หากไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนในปีแรก ให้ฉีด 2 เข็ม โดยห่างกัน 1 เดือน จากนั้นให้ฉีด 1 เข็ม ในแต่ละปี หากเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ให้ฉีดวัคซีนปีละครั้ง

โดยทั่วไปการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันโรคได้ร้อยละ 60-90 หรือหากเป็นขึ้นมา อาการของโรคก็จะไม่รุนแรงนัก ทั้งนี้หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว อาจมีอาการปวดบวมแดงเฉพาะที่ หรืออาจมีไข้หรือปวดเมื่อยตามตัว นาน 1-2 วัน

แม้ว่าโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อไม่มากนัก และผู้ติดเชื้อในประเทศไทยจะได้รับการรักษาจนหายแล้วก็ตาม แต่อย่างไรเราก็ควรต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถเตรียมการป้องกัน และเฝ้าระวังได้อย่างถูกต้อง ซึ่งวิธีการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ดีที่สุด ก็คือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อกำจัดเชื้อโรคออกไปนั่นเอง


ตอนนี้เพื่อนคงรู้ว่าโรคนี้น่ากลัวอย่างไรแล้วนะคร๊าบบบบบ....... Twisted Evil Twisted Evil Twisted Evil
manaza
manaza
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 71
คะแนนความดี : 455
จิตพิสัย : 4
Join date : 20/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

การสืบพันธุ์ของพืชดอก Empty วัฏจักรไนโตรเจน

ตั้งหัวข้อ  cakeboy_456 Tue Jun 23, 2009 8:00 pm

ไนโตรเจนเป็นแก๊สที่พบมากในบรรยากาศของโลกประมาณ 78% และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวโมเลกุล เช่น โปรตีน พอร์ฟีริน กรดนิวคลีอิก การหมุนเวียนของไนโตรเจนในบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตในวัฏจักรไนโตรเจนมีความสำคัญเนื่องจากเป็นกระบวนการ ที่เปลี่ยนแปลงโมเลกุลของไนโตรเจนไปเป็นโมเลกุลอื่นที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ สามารถนำโมเลกุลเหล่านั้นนำไปใช้ได้ ทำไมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลได้ เนื่องจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน นั่นเอง


กระบวนการที่สำคัญในวัฏจักรไนโตรเจน
1.fertilizer สารอาหารที่ เติมลงไปในดินเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช
2.volatilization แอมโมเนีย หรือ ยูเรีย สามารถเปลี่ยนไปเป็นแอมโมเนียซึ่งเป็นแก๊สที่ปลดปล่อยไปในอากาศ
3.animal wastes สิ่งปฏิกูลที่มาจากสัตว์ซึ่งเติมลงไปในดิน และเพิ่มสารอาหารให้แก่ผลผลิต
4.organic matter ซากพืชซากสัตว์ ที่อยู่ในดิน
5.immobilization ธาตุอนินทรีย์ เช่น ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัส ถูกใช้โดยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและเปลี่ยนไปเป็นสารอินทรีย์
6.nitrification แอมโมเนียถูกเปลี่ยนไปเป็นไนเตรต โดยแบคทีเรียในดิน
7.biological fixation หรือ nitrogen fixation พืชตระกูลถั่ว สามารถตรึงไนโตรเจนเนื่องจากมีแบคทีเรีย อาศัยอยู่ในปมรากถั่ว แบคทีเรียได้รับอาหารในรูปคาร์โบไฮเดรตจากพืช ในทางกลับกัน แบคทีเรียใช้ไนโตรเจน เปลี่ยนไปให้อยู่ในรูปสารอินทรีย์ ซึ่งพืชสามารถใช้ได้
8.mineralization การปล่อยสารอาหารอย่างช้าๆ จากสิ่งมีชีวิต
9.denitrification ไนเตรต ถูกเปลี่ยนไปในรูปแก๊สไนโตรเจน , ไนตรัสออกไซด์ , ไนตริกออกไซด์โดยแบคทีเรียในดิน เมื่อดินเปียก
10.crop uptake and removal การสูญหายของสารอาหารจากระบบเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจากพื้นที่เพาะปลูก
cakeboy_456
cakeboy_456
เด็กมัธยม

จำนวนข้อความ : 43
คะแนนความดี : 1260
จิตพิสัย : 10
Join date : 16/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ