SMP ---M1/4
บ้านใหม่ของเราครับ

http://smp234.ispace.in.th/board

Join the forum, it's quick and easy

SMP ---M1/4
บ้านใหม่ของเราครับ

http://smp234.ispace.in.th/board
SMP ---M1/4
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

แร่ธาตุที่จำเป็น (สอบแล้ว)

Go down

แร่ธาตุที่จำเป็น (สอบแล้ว) Empty แร่ธาตุที่จำเป็น (สอบแล้ว)

ตั้งหัวข้อ  Macca17257power_point_boy Thu Jun 18, 2009 7:02 pm

สำหรับคนที่ไม่จด หรือ จดไม่ทัน ในslide ของครูปู นะครับ
กระผมมีข้อมูลที่จะมาบอกคนที่ไม่จดทั้งหลาย

ผลประโยชน์ของธาตุต่าง ๆ ครับ



N = ทำให้พืชตั้งตัวได้เร็วขึ้นในระยะแรกของการเจริญเติบโต  ทำให้ใบพืชมีสีเขียว  แตกพุ่มมีกิ่งมากควบคุมการออกดอกออกผลของพืช  เพิ่มปริมาณโปรตีนในพืช  และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตโดยเฉพาะพืชที่ใช้ใบ ผล เมล็ด

P =ช่วยในการสังเคราะห์แสง  สร้างแป้งและน้ำตาล  ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากทำให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายและต้านทานโรค  ช่วยให้พืชแก่เร็ว  ช่วยในการสร้างดอกและเมล็ด  และช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัมได้ดีขึ้น

K = ช่วยสร้างและเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช  ช่วยสร้างโปรตีน  ช่วยในการแบ่งเซลล์และมีบทบาทในระบบหายใจ  ควบคุมความเป็นกรดเป็นด่างในพืช  เพิ่มคุณภาพของผลผลิตเช่น  ความกรอบ สี  ความหวานและยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิต


Ca = เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ในรูปของ Calcium pectate  ช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด  ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม  ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ  ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่าง ๆ  เช่น  กรดออกซาลิก  ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละอองเกสรตัวผู้ (pollen) และส่งเสริมการเกิดปมที่รากถั่ว

Mg =เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ เอนไซม์ เช่น Carboxylase  ช่วยสร้างรงควัตถุ (pigments)  และสารสีเขียว  ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช  ร่วมกับกำมะถันในการสังเคราะห์น้ำมัน   ในการดูดฟอฟฟอรัสและควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช

S =เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ เอนไซม์ เช่น Carboxylase  ช่วยสร้างรงควัตถุ (pigments)  และสารสีเขียว  ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช  ร่วมกับกำมะถันในการสังเคราะห์น้ำมัน   ในการดูดฟอฟฟอรัสและควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช


Fe = เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์สำหรับสร้างคลอโรฟีลล์  และของ Cytochrome ที่เกี่ยวข้องกับชนวนการหายใจ  ช่วยสร้างโปรตีนส่งเสริมให้เกิดปมที่รากถั่วและช่วยดูดธาตุอาหารอื่น

Mn = ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสงกระบวนการหายใจ  กระบวนการเมแทบอลินซึม (metabolism) ของเหล็กและไนโตรเจนกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดโดยเฉพาะเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการหายใจช่วยในการสร้างเอนไซม์หลายชนิดเช่น oxidase,  peroxidase และ dehydrogenase

Cu =เป็นองค์ประกอบของโปรตีนและเอนไซม์ หลายชนิด  กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ช่วยในการหายใจ  การสังเคราะห์แสดง และขบวนการmetabolism  ของไขมัน ทำหน้าที่ทางอ้อมในการสังเคราะห์คลอโรฟีลล์  มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของราก

Zn = ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน  คลอโรฟีลล์และฮอร์โมน IAA (Indole Acetic Acid) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และเอนไซม์หลายชนิดเช่น Carbonic anhydrase Alcoholic dehydrogenase เป็นต้น ช่วยให้ฟอสฟอรัสและไนโตรเจนเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น  ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติมีส่วนการขยายพันธุ์พืชบางชนิดและมีผลต่อการแก่และการสุกของพืช

B = ช่วยแบ่งเซลล์และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นใหม่  ช่วยสร้างโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต  ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช  ทำให้พืชดูดไนโตรเจน  โพแทสเซียมและแคลเซียมได้มากขึ้น  ช่วยในกระบวนการ metabolism  ของไนโตรเจน  คาร์โบไฮเดรต  ฮอร์โมนและฟอสฟอรัส  เกี่ยวข้องกับการดูดน้ำ  การคายน้ำและกระบวนการสังเคราะห์แสง  มีความจำเป็นต่อการงอกของ pollen grain  และการเจริญเติบโตของ pollen tube  มีผลให้การลีบของเมล็ดลดลง

Mo = เป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างคลอโรฟีลล์และเอนไซม์ในพืช  เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์พวก nitrogenase และ nitrate reductase  ช่วยในการตรึงไนโตรเจนและลดการเปลี่ยนรูปของไนเตรทไปเป็นกรดอมิโนและโปรตีน

CI = มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงและทำให้พืชแก่ตัว  เป็นองค์ประกอบของฮอร์โมน  ส่งเสริมทำงานของเอนไซม์หลายชนิดที่มีอิทธิพลต่อ metabolism  ของคาร์โบไฮเดรต  ช่วยให้เนื้อเยื่อพืชอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
Macca17257power_point_boy
Macca17257power_point_boy
เด็กนักเรียน

จำนวนข้อความ : 18
คะแนนความดี : 35
จิตพิสัย : 0
Join date : 17/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

แร่ธาตุที่จำเป็น (สอบแล้ว) Empty สอบวิทย์วันศุกร์ หลัก ครูปูครับ (ต่อ)

ตั้งหัวข้อ  Macca17257power_point_boy Thu Jun 18, 2009 7:06 pm

ต่อไปอาการเมื่อพืชขาดธาตุต่าง ๆ

N =พืชชะงักการเจริญเติบโตหรือโตช้ามากใบมีสีเหลือง โดยเริ่มจากปลายใบไปโคนใบและเกิดกับใบแก่ก่อน การแตกยอดและกิ่งก้านช้ามาก ลำต้นผอมสูง กิ่งก้านน้อยและลีบเล็ก ผลผลิตต่ำและมีคุณภาพไม่ดี

P =พืชชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีม่วง เช่น ใบข้าวโพด พืชออกดอกช้า ดอกมีขนาดเล็กและมีจำนวนลดลง รากผอม บางสั้นและมีจำนวนน้อย

K =พืชชะงักการเจริญเติบโต ขอบใบไหม้มีสีน้ำตาลลุกลามเข้ามากลางใบเป็นรูปตัววี ต้นอ่อนล้มง่าย ไม่ต้านทานโรค ผลเล็ก เมล็ดเหี่ยวลีบ พืชน้ำมันและพืชหัวมีคุณภาพลดลง


Ca = ใบอ่อนมีลักษณะผิดปกติ ยอดกุด ใบเล็กลงและมีสีเหลืองซีด ใบที่อยู่ชั้นในสุดรวมตัวติดกัน ทำให้แมลงเข้าไปอาศัยและทำลายพืชได้ รากไม่เจริญเท่าที่ควร ลำต้นอ่อนแอ ล้มง่าย ตาและยอดอ่อนแห้งตาย พืชออกดอกเร็วเกินไป

Mg = อัตราการเจริญเติบโตลดลง ลำต้น กิ่งอ่อนแอเปราะและหักง่าย ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแต่เส้นใบยังเขียวอยู่อาการจะเกิดกับใบแก่ก่อน

S = เป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้าย อาการขาดแสดงที่ใบอ่อน โดยใบจะมีขนาดเล็กสีเหลืองซีด ต้นแคระแกรนและแตกกอน้อย

Fe = พืชชะงักการเจริญเติบโต ใบมีสีเหลืองในขณะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ หรือใบมีจุดสีน้ำตาล

Mn =พืชแตกพุ่มน้อย เจริญเติบโตช้าและไม่ออกดอก ใบอ่อนมีสีเหลืองซีดหรือเป็นจุดแต่เส้นใบยังมีสีเขียว ใบอ่อนของพืชบางชนิดเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ เช่น เทา ส้ม เหลือง เกิดในอ้อยเรียก Streak disease ในข้าวเรียก Grey spec ในถั่วเรียก Marsh spot

Cu = พืชชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นมีปล้องสั้นผิดปกติ ใบอ่อนมีสีเข้มในตอนแรกและจะแห้งตายในที่สุด

Zn =ใบเกิดเป็นทางขาว ๆ (white bud) มักแสดงอาการที่ใบที่ 2,3 ของใบแก่ พืชแคระแกรน ข้อสั้น เช่น โรค Rosetting ในข้าวโพดจะมีอาการยอดขาว ข้อสั้นเป็นพุ่ม การผลิตฮอร์โมนน้อยลงทำให้พืชไม่ออกผล

B = .ลำต้นและเมล็ดพืชกลวงไม่ออกดอกยอดชะงักการเจริญเติบโตและมีสีแดงหรือสีเหลือง ใบหน้าผิดปกติและหงิกงอเกิด chlorosis และกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม พืชบางชนิดเช่นผักกาดหัวจะมีจุดสีน้ำตาลหรือดำเกิดขึ้นในพืช

Mo =ขอบใบม้วนเป็นหลอดแต่ใบสีขาวคล้ายขาดธาตุไนโตรเจน ใบเกิดการแก้งตาย (necrosis) และหงิก ดอกร่วงหรือติดผลไม่สมบูรณ์ ถั่วเหลืองที่ปลูกในดินกรดมีการสะสมในเตรทสูง

CI = ใบยอดของพืชจะเหี่ยว ใบมีสีเหลืองซีดจนกลายเป็นสีบรอนซ์และตายในที่สุดมักเกิดกับมันฝรั่ง


การใส่ธาตุต่าง ๆ

N = ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เช่น ยูเรียเอมโมเนียมไนเตรทเอมโมเนียซัลเฟต แคลเซียมไนเตรท ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์

P =ปรับ pH ของดินให้อยู่ระหว่าง 6-7 และใส่ปุ๋ย ฟอสฟอรัส เช่น หินฟอสเฟต ซูเปอร์ฟอสเฟต ฯลฯ ในกรณีที่ดินมีฟอสฟอรัสต่ำ

K = ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม เช่น KCl K2SO4และ KNO3


Ca = ใส่ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรทยิปซัมหรือเพิ่มปูนในรูปต่าง ๆ เช่น หินปูน CaCO3

Mg = ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต แมกนีเซียมออกไซด์ โพแทสเซียมแมกนีเซียมซัลเฟตหรือใส่ปูน โดโลไมท์ (CaMgCO3)

S = ใส่ปุ๋ยกำมะถันผง แอมโมเนียมซัลเฟต แมกนีเซียมซัลเฟต ร่วมกับปุ๋ยคอก


Fe = ใช้เหล็กซัลเฟต เหล็กคาร์บอเนต หรือเหล็กคีเลตอย่างใดอย่างหนึ่งฉีดพ่นหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยอื่น

Mn = ใช้แมงกานีสซัลเฟต แมงกานีสคาร์บอเนตแมงกานีสออกไซด์หรือแมงกานีสคีเลทพ่นหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยอื่น

Cu = ใช้คอบเปอร์ซัลเฟต คอบเปอร์ออกไซด์หรือคอบเปอร์คีเลทฉีดพ่น หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยอื่น ๆ

Zn = ใช้สังกะสีซัลเฟต หรือสังกะสีคีเลทอย่างใดอย่างหนึ่งฉีดพ่นหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยอื่น ๆ

B = ใช้บอแรกซ์ กรดบอริค หรือ โบรอนออกไซด์ ฉีดพ่นให้ไม้ผลหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยอื่นในพืชไร่

Mo = ใช้แอมโมเนียมโมลิบเดต โมลิบดินัมออกไซด์ หรือ โมลิบดินัมซัลเฟด์ พ่นหรือใส่ร่วมกับปุ๋ยอื่น

CI = ใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์พืชที่ใส่ปุ๋ยเป็นประจำมักไม่ขาดคลอรีน

ภาพท่อลำเลียงน้ำ

http://image.ohozaa.com/show.php?id=25d1d9f7da54118f6b6e1b84e301f2a9

แร่ธาตุที่จำเป็น (สอบแล้ว) 0ogwx
Macca17257power_point_boy
Macca17257power_point_boy
เด็กนักเรียน

จำนวนข้อความ : 18
คะแนนความดี : 35
จิตพิสัย : 0
Join date : 17/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

แร่ธาตุที่จำเป็น (สอบแล้ว) Empty สอบวิทย์วันศุกร์ หลัก ครูปูครับ (ต่อ)

ตั้งหัวข้อ  Macca17257power_point_boy Thu Jun 18, 2009 7:07 pm

1.เอพิเดอร์มิส (Epidermis) เป็นผนังเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด เซลล์เรียงตัวชั้นเดียว มีผนังบาง ไม่มีคลอโรพลาสต์
2.คอร์เทกซ์ (Cortex) ประกอบด้วยเซลหลายแถว มีหลายชนิด มีคลอโรฟิลล์ ชั้นของคอร์เทกซ์ในรากจะกว้างกว่าในลำต้น
3.เอนโดเดอร์มิส (Endodermis) ประกอบด้วยเซลแถวเดียว ส่วนใหญ่พบในราก
4.เพอริไซเคิล (Pericycle) ประกอบด้วย เซลเพียงหนึ่งหรือสองแถว เป็นแหล่งที่เกิดของรากแขนง
5.วาสคิวลาร์บันเดิล ทำหน้าที่ลำเลียงในพืชประกอบด้วย
เซลอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อโฟลเอมและไซ เลม มีแคมเบียมคั่นอยู่ตรงกลางในพืชในเลี้ยงคู่ การเรียงตัวจะ กระจายในพืชใบเลี้ยงเดียว เป็นกลุ่ม ๆ เรียงเป็นวงในพืชใบ เลี้ยงคู่
6.พิท (Pith) ประกอบด้วย เซลผนังบาง ๆ คือ พาเรนไคมา
(Parenchyma) กลุ่มเซลไซเลม ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ เกลือแร่ สารละลายต่าง ๆ โดยกระบวนการ Conduction ประกอบด้วยเซลหลายชนิด เช่น
- เทรคีดเซล (tracheid)
- เวสเซล (Vessel)


กลุ่มโฟเอม ประกอบด้วย

ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (Sievetube member) ทำหน้าที่ลำเลียง สารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช
เซลคอมพาเนียน (Companion cell) มีหน้าที่ควบคุมการทำ งานของซีฟทิวบ์เมมเบอร์
เซลไฟเบอร์ (Fiber cell) ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงทนทาน แก่พืช ซึ่งอยู่ภายในเนื้อเยื่อของโฟลเอมและไซเลม
เรย์ (Ray) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและอาหารไปด้านข้างของลำ ต้น
แคพิลลารีแอคชัน (Capillary action) เป็นกระบวนการ เคลื่อนที่ของน้ำในหลอดเล็ก ๆ
แอดฮีชัน (adhesion) คือแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำ และผนังด้านข้างของหลอด
การคายน้ำของพืช หมายถึงกระบวนการที่พืชกำจัดน้ำออก มาในรูปของไอน้ำซึ่งจะเกิดขึ้นที่ปากใบมากสุด
เซลคุม (Guard cell) เป็นเซลมีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว จะมีเม็ดคลอ
โรพลาสต์ ระหว่างเซลคุมจะมีช่องเล็ก ๆ คือปากใบ
คิวทิน (Cutin) คือสารขี้ผึ้งที่ฉาบอยู่ผิวใบของพืช
เลนทิเซล (lenticel) หมายถึงรอยแตกที่ผิวของลำต้นหรือกิ่ง ซึ่งพืชอาจสูญเสียน้ำทางเลนทิเซลได้
กัตเทชั่น (Guttation) คือกระบวนการคายน้ำของพืชในรูป ของหยดน้ำ ทางรูเล็ก ๆ คือ รูไฮดาโทด (hydathode)
ความดันราก (Root pressure) คือแรงดันที่ดันของเหลวให้ ไหลขึ้นไปตามท่อของไซเลม
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำ เรียกว่า โคฮีชัน (Cohesion)
แรงดึงดูดจากการสูญเสียของน้ำของพืช เรียกว่า ทรานสปีเรชัน
พลู (transpiration pull)


" จบ "

ขอให้โชคดีในการสอบ
หากมีข้อผิดผลาดขออภัยด้วย Very Happy
Macca17257power_point_boy
Macca17257power_point_boy
เด็กนักเรียน

จำนวนข้อความ : 18
คะแนนความดี : 35
จิตพิสัย : 0
Join date : 17/06/2009

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ